วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ฝึกประสบการวิชาชีพครู 1 ณ โรงเรียนศึกษานารี


ฝึกประสบการวิชาชีพครู 1 ณ โรงเรียนศึกษานารี โดยนายนำชัย แสนศิลป์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

บัญชีลงเวลา

บัญชีลงเวลา
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูขั้นการศึกษาสังเกตและการมีส่วนร่วม  

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

หมวก 6 ใบ ( Six Thinking Hats)

                  ในการสวมหมวก เราสามารถสวมได้ตลอดเวลาทั้งเวลาที่เราใช้ชีวิตส่วนตัว และเวลาทำงาน ในชีวิตการทำงาน โดยเฉพาะการประชุม เราจำเป็นต้องลดแรงเสียดทานเวลาที่ผู้อื่นไม่เห็นด้วยกับเรา แม้ทุกคนในที่ประชุมกำลังพูดถึงปัญหาเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน แต่สิ่งที่คิดและแสดงออกแตกต่างกัน เป็นเพราะเหตุใดกันล่ะ หลายสาเหตุนะ แต่หากจะเอาเรื่องหมวกมาประยุกต์ ก็ประมาณดังต่อไปนี้

                  ยามใดที่เราสวมหมวกขาวใบเดียว เราจะให้ความสำคัญกับเรื่องข้อมูลมาก ทั้งข้อมูลปัจจุบัน ข้อมูลในอดีต เราพยายามที่จะเรียนรู้และค้นหาคำตอบจากข้อมูล เราจะขวนขวายและแสวงหาเพิ่มหากพบว่ายังขาดอยู่ ยามที่มีข้อมูลครบถ้วนหรือคิดว่ามากพอ เราก็จะพยายามนำมาใช้ประโยชน์เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ เช่น มีการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตเพื่อพยากรณ์ข้อมูลการขายในอนาคต

                 ยามที่สวมหมวกแดง เรามักจะใช้สัญชาตญาณที่ฝังลึกในตัวเรา แล้วตอบสนองทันที แฝงด้วยการใช้อารมณ์และความรู้สึก ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น พยายามทำความเข้าใจผู้อื่นว่าเขาจะตอบสนองอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ได้รับผลกระทบโดยไม่ทราบเหตุผลของการตัดสินใจกระทำของเรา
                 ยามที่สวมหมวกดำ จะพยายามหาช่องโหว่ หาจุดอ่อนของการตัดสินใจ ถ้าเหตุการณ์เป็นแบบนี้หรือแบบนั้นหากทำแบบนี้หรือแบบนั้น อย่างที่เราเรียกว่า what if แล้วผลจะออกมาเช่นไร หากทำแล้วไม่ได้ผลในทางปฏิบัติจะทำอย่างไร ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของการจัดทำแผนเลยทีเดียว การคิดหาหนทางหลายๆทางเลือกแบบนี้จะช่วยให้เราตัดทางเลือกที่ไม่ดีออก หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขทางเลือกให้เหมาะสม ในการฝึกให้มีทางเลือกแค่ 2 ก็จะเป็นทางเลือกที่เราคิดว่าเจ๋งที่สุดแล้ว ในชีวิตจริงในหลายๆสถานการณ์เรายังมีสิทธิ์เลือกแค่ทางเดียวเอง นอกจากจะช่วยเฟ้นหาทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว  ยังช่วยในการเตรียมการเผื่อสำรองฉุกเฉินอีกทางหนึ่งด้วย ในบรรดาหมวกทุกใบ จะมีเจ้าหมวกใบนี้แหละที่มีบทบาทสูงสุดในการทำให้เทคนิคหมวก 6 ใบประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับ เพราะเห็นประโยชน์ชัดเจนจากการตัดทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูงออกไป การคิดในเชิงบวกเพียงอย่างเดียวจะไม่ช่วยให้เราเห็นปัญหาล่วงหน้าได้มากนัก เพราะคิดทีไรก็เห็นความสำเร็จของแผนไปซะหมด เลยทำให้เกิดอาการประมาทเอาได้ การมองโลกในแง่ร้ายเอามาใช้ในสถานการณ์แบบนี้จึงจะเจ๋งที่สุด เพื่อลดอาการประมาทนะ ไม่ใช่เพื่อ discredit คน
                  
                   ยามที่สวมหมวกเหลือง จะช่วยทำให้คิดในเชิงบวก คิดในแง่ดี ทำให้มองเห็นประโยชน์หรือผลประโยชน์ที่จะได้รับ หมวกใบนี้จะช่วยได้มากยามที่เราเจอปัญหายุ่งยาก มืดมน หาทางออกไม่เจอ พอรู้ว่าทำเถอะ ทนอีกนิด ผลออกมาจะคุ้มค่ามากเลย ที่สุดของความภูมิใจเลย จะได้เกิดแรงฮึด ถ้าคิดในแง่ดีแล้วเกิดแรงฮึดแบบนี้แหละดี แต่ถ้าคิดแง่ดีแล้วทำให้ประมาท อย่าเชียวนะ เจ๊งสถานเดียว
ยามที่สวมหมวกเขียว แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ คิดถึงทางเลือกในการทำงานที่หลากหลาย มีอิสระในการคิดและแสดงออก จะออกนอกกรอบจนหลุดโลกก็ไม่ว่ากัน เพราะเจ้าหมวกสีอื่นจะช่วยกลั่นกรองให้อยู่แล้ว ยอมรับว่าจะต้องมีเสียงวิพากษ์หากคิดได้แสบทรวงหรือคิดได้เท่าเนี้ย แต่ขณะเดียวกันมันอาจจะนำพาพวกเราไปสู่มุมมองใหม่ๆ หรือแนวทางในการแก้ปัญหาที่พวกเราคาดไม่ถึงก็เป็นไปได้นี่นะ 

                   ยามที่สวมหมวกสีน้ำเงิน จะทำหน้าที่จัดระเบียบความคิด อาจจะดูเหมือนเจ้ากี้เจ้าการไปบ้าง แต่ก็จะช่วยทำให้การประชุมอยู่ในกรอบและทิศทางที่พวกขาเมาท์อาจจะพาเขวไปได้ เวลาที่ที่ประชุมนึกไม่ออก หมดไอเดีย มองตากันไปมาแต่ก็ไม่รู้ใจไม่ปิ๊งสักที หมวกน้ำเงินใบนี้ก็อาจจะมอบหมายให้เจ้าหมวกเขียวแสดงนำไปก่อน เวลาที่ต้องการแผนสำรองฉุกเฉินก็จะมอบหมายให้เจ้าหมวกดำเสนอความเห็น คราวนี้คนที่สวมหมวกใบนี้ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆมักจะเป็นผู้ที่มี leadership หรือภาวะผู้นำ ยิ่งถ้าได้หัวหน้าที่มีภาวะผู้นำ เพราะรู้โจทย์ที่ชัดเจนกว่าก็จะเลือกหยิบหมวกแต่ละสีมาช่วยตัดสินใจหรือทำแผนให้เหมาะกับสถานการณ์ จะว่าไปแล้วเจ้าหมวกน้ำเงินเหมือนผู้กำกับนะ หรือเหมือนกับผู้ที่ทำหน้าที่ในการ lead การประชุมนั่นแหละ ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าโดยตำแหน่งเสมอไปนะ เพราะหากโจทย์ไม่ชัดเจน เจ้าลูกน้องที่สวมหมวกน้ำเงินก็มอบหมายในที่ประชุม ให้หัวหน้าซึ่งกำลังสวมหมวกขาวให้ข้อมูลหรือชี้แจงเพิ่มเติมก็ได้นี่นา 

                    ลองนึกภาพที่หลายๆองค์กรนำแนวคิดเรื่องหมวก 6 ใบมาประยุกต์ อาจใช้เวลาส่วนหนึ่งในการถกเถียงกันว่าหมวกสีไหนทำหน้าที่อะไร เหมือนที่พวกเราเองก็เป็นตลอดเวลา เหตุของการถกเถียงไม่ลงรอย หาข้อสรุปไม่ได้ เพราะสับสนเรื่องการสวมหมวกกับสีหมวกนี่แหละ จะช่างหัวมันปะไรก็คงไม่ได้ซะแล้ว เพราะทุกคนมีหมวกกันครบทั้ง 6 ใบอยู่แล้วนี่นา ตอนนี้ก็เหลือแต่ว่าสีของใครควรจะสดใสเปล่งประกายมากกว่ากันในแต่ช่วงเวลานั้นๆ เอาเป็นว่าสีหมวกใดจะทำหน้าที่ใดก็ตาม แต่พยายามสวมหมวกแต่ละสีในจังหวะที่หมวกสีนั้นๆต้องเล่นบทก็เพียงพอแล้ว กาลเทศะ เป็นอีกคำที่สะท้อนบทบาทของหมวกได้เช่นกัน


Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : การพัฒนากระบวนการคิดด้วยทฤษฏีหมวก 6 ใบ อ.รัตนา สถิตานนท์ รร.สตรีศรีสุริโยทัย (ฉบับเต็ม)

Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : การพัฒนากระบวนการคิดด้วยทฤษฏีหมวก 6 ใบ อ.รัตนา สถิตานนท์ รร.สตรีศรีสุริโยทัย (ฉบับเต็ม)